มารู้จักแนวรับ (Support ) กับแนวต้าน (Resistance) ว่าคืออะไรกันแน่

อื่นๆ

สำหรับมือใหม่หัดเทรดอย่างเราคงจะสงสัยว่า แนวรับกับแนวต้านมากจากไหนและคืออะไรกันแน่ เมื่อเราเทรด Forex เราจะเห็นกราฟ forex เคลื่อนไหวในลักษณะขึ้นหรือลง การที่กราฟเด้งขึ้นลงนี่แหละ ที่เหล่านักลงทุนเรียกกันว่าแนวรับแนวต้านหรือ Support and Resistance Level นั่นเอง ซึ่งประโยชน์ของเส้นกราฟที่เรียกว่าแนวรับแนวต้านนั้นก็คือ เป็นตัวช่วยให้กับนักลงทุนในการวิเคราะห์กรอบราคาของตลาด ทำให้นักลงทุนหรือนักเทรดทุกคนวางแผนได้ว่าจะเข้าออกออเดอร์ตอนไหน อีกทั้งยังช่วยในการทำนายทิศทางของราคาในอนาคตได้อีกด้วย เรามาดูรายละเอียดของแนวรับและแนวต้านให้ละเอียดมากขึ้นอีกกันดีกว่า

แนวรับแนวต้าน

แนวรับ support เกิดขึ้นจากอะไร

การเกิดแนวรับนั้นเกิดขึ้นจากกราฟราคาปรับตัวลดลงไปยังจุดที่จูงใจให้นักเทรดตัดสินใจซื้อ “Buy” ระดับของราคาต่ำสุดจะถูกเรียกว่า แนวรับ หรือ support โดยกราฟราคาในส่วนนี้จะมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในอนาคต

แนวต้าน Resistance เกิดขึ้นจากอะไร

สำหรับแนวต้านจะเกิดจากกราฟราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงจนถึงจุดที่นักเทรดจะเกิดแรงจูงใจให้ขาย “Sell” ระดับของกราฟราคาที่สูงขึ้นนี้ จะถูกเรียกว่า แนวต้าน หรือ Resistance โดยกราฟราคาในส่วนนี้จะมีแนวโน้มปรับตัวลดลงไปอีกในอนาคตข้างหน้า

ระดับและทิศทางของกราฟราคาจะมีการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวขึ้นไปเรื่อย ๆ ได้ จึงทำให้เกิดแนวรับและแนวต้านในระดับที่แตกต่างออกไปได้ ซึ่งกราฟราคาที่เคยถูกเรียกว่าแนวต้านในอตีด สามารถที่จะกลายเป็นแนวรับในปัจจุบันไปแทนได้ และจุดที่เคยเป็นแนวรับมาก่อนก็สามารถที่จะกลายเป็นแนวต้านในอนาคตได้เช่นเดียวกัน นั่นก็เนื่องจากว่านักลงทุนมีแรงซื้อหรือลงทุนมากน้อยแค่ไหน ระดับของราคาก็จะขยับตัวสูงขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง

ประเภทของแนวรับแนวต้านที่มือใหม่ควรรู้ไว้มีอะไรบ้าง

แบบดั้งเดิมหรือ แบบ swing highs and lows

นี่คือลักษณะของแนวรับแนวต้านที่เป็นแบบพื้นฐานที่สุด โดยดูได้จากช่วงเวลายาว ๆ กว้าง ๆ เช่น week หรือ monthly ซึ่งเมื่อซูมภาพออกดูกว้าง ๆ ก็จะเห็นกรอบราคาด้านบนและด้านล่างได้อย่างง่ายๆ

swing highs and lows

แบบ swing point level

กราฟราคาในรูปแบบนี้เรียกว่า แนวรับเก่า แนวต้านใหม่ นั่นก็เพราะว่า เมื่อเกิดเทรนราคาขาขึ้นขาลงไปเรื่อยๆสักระยะก็จะเกิดการ pull back คือกราฟย้อนกลับมาทางเดิม การเกิดจุด pull back จะเป็นช่วงเวลาที่ดีเพราะแนวต้านที่พลิกกลับมาเป็นแนวรับเป็นจุดที่จะทำให้นักลงทุนเกิดผลกำไรสูงขึ้นได้ และเมื่อเกิดเหตุการณ์ นักลงทุนหรือนักเทรดก็สามารถที่จะเดาทิศทางของราคาหรือสภาพตลาดได้ง่ายขึ้น

swing point level

แบบ Swing point level as containment and risk management

ลักษณะของกราฟนี้เราสามารถใช้การแกว่งสูงต่ำเป็นจุดเสี่ยงเพื่อกำหนดทิศทางในการเทรดครั้งต่อไปได้ กล่าวคือ เมื่อกราฟราคาแนวรับทะลุผ่านกรอบไปราคาแล้วแนวรับจะกลายเป็นแนวต้านทันที เราจึงต้องรีบ sell ในขณะที่ราคายังอยู่ภายในกรอบราคาหรือใกล้กรอบราคาแนวต้าน วิธีนี้จะช่วยให้เรารู้ความเคลื่อนไหวของราคาและกำหนด stop loss ได้ถูกจุด

Swing point level as containment and risk management

แบบ Dynamic support and resistance levels

แนวรับ แนวต้าน รูปแบบนี้จะดูการเคลื่อนที่แบบค่าเฉลี่ย Moving average คือ ดูการเคลื่อนไหวของราคาสูงต่ำที่ตั้งไว้ เช่น ค่า 50-period MAs, 100-period MAs และ 200-period MAs การดูกราฟราคารูปแบบนี้นิยมใช้ใน timeframe ระยะสั้น ๆ แบบ daily หรือรายวัน หรือสัปดาห์ก็ได้ จำไว้ว่า ตลาดที่มีความผันผวนต่ำก็จะเรียกใช้ EMA ที่ต่ำลง เช่น อยู่ที่ 50-period หรือต่ำกว่านั้น

Dynamic support and resistance levels

รูปแบบของกราฟราคาก็มีความแตกต่างกันออกไป ตามลักษณะการตั้งค่าของช่วงเวลาและขนาดการลงทุนของนักเทรดแต่ละคน หากเราตั้งใจฝึกฝนและเข้าใจแนวรับแนวต้าน เราก็สามารถที่จะเข้าใจสภาพราคาของตลาดได้ง่ายขึ้นและจับทิศทางในการเทรดที่ปลอดภัยได้มากขึ้นไปอีกด้วย เราก็จะลดความเสี่ยงในการเปิดออเดอร์ของเราในแต่ละครั้งได้

อินดิเคเตอร์สำหรับตรวจหาแนวรับและแนวต้าน forex

การหาจุดแนวรับแนวต้าน ตามที่ได้อ่านมาแบบทฤษฎีนี้ก็ดูเหมือนว่าจะหาได้ง่าย ๆ แต่ความจริงอาจจะยากกว่าที่คิด จึงจำเป็นที่จะต้องใช้อิรดิเคเตอร์ช่วยหาอีกแรง เพื่อที่เราจะได้ไม่พลาดท่าหรือโอกาสดีๆ ในการทำกำไรงามจากการเทรด forex ไปอย่างน่าเสียดาย เรามาดูกันว่า indicator ไหนบ้างที่ช่วยหาแนวรับ แนวต้านได้

  • Fibonacci

อินดิเคเตอร์ตัวนี้เป็นที่นิยมเป็นอย่างมากสำหรับนักเทรดทางเทคนิค อินดิเคเตอร์ Fibonacci จะจับการเคลื่อนไหวของกราฟราคาและสภาพแนวโน้มของราคาที่แข็งแกร่งอย่างละเอียด นักเทรดจะทำการออเดอร์ซื้อและขายและทำกำไรตามช่วงเวลาที่ตั้งค่าไว้บน Fibonacci นักเทรดจะเป็นผูเลือกช่วงเวลาที่อยากจะใช้กับอินดิเคเตอร์นี้ การเลือกช่วงเวลาที่แตกต่างกันทำให้นักเทรดมองระดับ Fibonacci ที่แตกต่างกันออกไป

  • Moving Average

ตัวนี้ใช้สำหรับดูราคาตลาดที่มีสภาพคล่องสูง ที่มีการซื้อขายกันตลอดเวลา ซึ่งสามารถปรับ timeframe เป็น 5 นาที และปรับ Moving Average เป็น 200 ได้ เป็นต้น อินดิเคเตอร์ตัวนี้จะเป็นตัวช่วยเน้นให้เห็นช่วงเวลาที่เราควรเทรด คือจะมีแยวเส้นที่ทำให้เรารู้ว่าราคาแข็งพอที่จะเทรด ช่วยลดความเสี่ยงไปได้อีกขั้น

  • Oscillator

อินดิเคเตอร์ตัวนี้จะใช้หาแนวรับแนวต้าน ด้วยวิธีการแลกเปลี่ยน Transaction จุดที่เป็น Overbought หรือ Oversold ที่พีคเกิน 30 หรือ 70 ไป จุดนั้นมักจะเป็นจุดที่จะเกิดการแพ้ชนะของผู้ซื้อและผู้ขายแบบกระทันหันมาก เพราะจะเกิดการกระชากราคากลับมา ซึ่งจุดนั้นก็จุดแนวรับแนวต้านนั่นเอง

  • Admiral Pivot

อินดิเคเตอร์ตัวนี้จะระบุแนวรับแนวต้านในเลยอัตโนมัติ โดยการคำนวณจากราคา High, Low และราคาปิด ของช่วงเวลาที่ผ่าน ๆ มา โดยตัวนี้จะใช้เทคนิคการหาแนวรับแนวร่วมแบบเดียวกันกับ Moving Average คือจะสามารถยืนยยันความแข็งแกร่งของแนวรับแนวร่วมได้อย่างชัดเจน

การหาจุดของแนวรับแนวต้าน support and resistance level นั้นมีส่วนสำคัญต่อการตัดสินใจเปิดออเดอร์ forex เป็นอย่างมาก หากเราสามารถที่จะสังเกตเห็นแนวรับแนวต้านที่ชัดเจน เราก็สามารถคาดเดาและวางแผนการเทรดของเราได้ดีขึ้น อีกทั้งยังสามารถรอจังหวะที่จะคว้ากำไรก้อนโตได้แบบกระทันหันเช่นกัน ดังนั้นไม่ว่าจะนักเทรดรุ่นไหนหรือระดับไหนก็ไม่ควรพลาดกับเทคนิคการเทรดแบบดูแนวรับแนวต้านนี้โดยเด็ดขาด